วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

High Key

      High  Key  ภาพที่มีโทนสีอ่อนและสว่างเป็นส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นฉากหลัง ตัวแบบ หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆควรมีโทนสีที่อ่อนและสว่างด้วย โดยปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้โทนสีสว่าง คือ แสงและอุปสรรคอย่างหนึ่งในการถ่ายภาพ High Key คือเงาที่จะเกินขึ้นเมื่อมีแสงสว่างส่องเข้าไป ความท้าทายก็คือ เราจะลบเงาเหล่านั้นได้อย่างไร การถ่ายภาพ High Key ที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในสตูดิโอ (Studio) เพราะเราจะสามารถจัดแสงได้ง่าวยการการถ่ายภาพภายนอกอาคาร



เทคนิคการถ่ายภาพ High Key
      แสงส่วงจะเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ไม่ว่าจะมาจากดวงอาทิตย์หรือแสงจากสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ เทคนิคง่ายๆสำหรับการถ่ายภาพ High Key คือใช้แสงนุ่มเป็นหลักเพราะแสงแข็งจะทำให้เกิดเงาที่ค่อนข้างเข้ม และอีกอย่างหนึ่งคือการใช้แสงลบเงาของตัวแบบ เพื่อลดโทนมืดออกจากภาพ ดังนั้นเราอาจต้องการแหล่งกำเนิดหลายๆแหล่งเพื่อลดเงามืดเหล่านั้น ซึ่งอาจจะต้องใช้แสงไฟต่อเนื่องจากหลอดไฟ ซึ่งอาจจะง่ายกว่าการใช้แฟลช เนื่องจากเมื่อเราจัดวงแสงไฟแล้ว เราสามารถเห็นผลลัพท์ได้ทันทีว่าเราสามารถลบเงาที่เกิดขึ้นได้หมดหรือยัง การจัดวางไฟมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับว่าเราจะวาแบบไว้อย่างไร และต้องการภาพแบบไหน สิ่งที่เราต้องคำนึงถึงก็คือเราจะวางไฟอย่างไรที่จะสามารถลบส่วนมืดหรือเงาออกจากภาพให้เหลือน้อยที่สุด
ส่วนการถ่ายภาพนอกอาคารอาจต้องใช้ความพยายามในการหามุมที่ เมื่อตัวแบบได้รั้บแสงแล้วจะเห็นเงาขึ้นน้อยที่สุดหรือหามุมถ่ายที่จะไม่เห็นเงาในภาพ เพราะฉะนั้นเราคงต้องหาแสงที่มีลักษณะนุ่มเป็นหลักในการถ่ายภาพ และแฟลชคงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจำเป็นในการถ่ายภาพแนวนี้และอย่างลืมสวมอุปกรณ์ Bounce แฟลช เพื่อช่วยทำให้แสงนุ่มด้วย


ส่วนการถ่ายภาพนอกอาคารอาจต้องใช้ความพยายามในการหามุมที่ เมื่อตัวแบบได้รั้บแสงแล้วจะเห็นเงาขึ้นน้อยที่สุดหรือหามุมถ่ายที่จะไม่เห็นเงาในภาพ เพราะฉะนั้นเราคงต้องหาแสงที่มีลักษณะนุ่มเป็นหลักในการถ่ายภาพ และแฟลชคงเป็นสิ่งที่ค่อนข้างจำเป็นในการถ่ายภาพแนวนี้และอย่างลืมสวมอุปกรณ์ Bounce แฟลช เพื่อช่วยทำให้แสงนุ่มด้วย





edward steichen

Edward Steichen

 Edward J Steichen เป็นศิลปินช่างภาพ ชาวอเมริกัน เกิดและเสียชีวิต 1879-1973  ผู้ซึ่งเป็นทั้ง จิตกร ช่างภาพและ คิวเรเตอร์คนสําคัญ  เขาคือบุคคลที่พลักดันและต่อสู้เพื่อให้ภาพถ่ายนั้นเป็นงานศิลปะ เป็นผู้ทําให้เกิดนิทรรศการ The Family of man รวมถึงเป็น ทางด้าน Fashion ในปี 1920s เขาเป็นบุคคลสําคัญอย่างมากต่อการเปลี่ยนแปลงการถ่ายภาพแฟชั่น ซึ่งเป็นผู้มีิอิทธิพลให้ช่างภาพรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็น Hoyningen-Huene, Horst, Mapplethorpe and Avedon      


   Steichen เกิดที่ Luxembourg  March 27, 1879 เขาได้เรียน วาดภาพที่ Pio Nono College ในปี 1888 และได้ฝึกฝนเรื่องการวาดด้วยการเป็นเด็กฝึกงานกับ Milwaukee lithographing company.  หลังจากนั้นเขาใน1895 ซื้อกล้องถ่ายภาพ หลังจากนั้นสามปีต่อมา งานของเขาก็ได้เข้าไปอยู่ใน  the Second Philadelphia Salon of Pictorial Photography  ซึ่งถ้าเทียบกับยุคสมัยประวัติศาสตร์ยุคนี้อยู่ในช่วงของ Pictorial ที่พยายามทําให้ภาพถ่ายเป็นเหมือนงานศิลปะ นั้นก็คือการทําภาพให้ดูเลือนลอย ไม่ชัด เหมือนงาน Impressionismในปี 1900 เขาได้เรียนการเขียนงานที่ Paris จนได้พบกับ เพื่อนของเขาคือ  Alfred Stieglitz (ช่างภาพอเมริกันและผู้นําที่ผลัดกันภาพถ่ายให้เป็นงานศิลปะ) และทั่งคู่ได้ก่อตั้ง กลุ่ม Photo-Secession ซึ่งภายหลังกลุ่มนี้ก็ได้เกิดนิทรรศการงานศิลปะที่ชื่อว่า 291 เป็นนิทรรศการที่รวม งาน painting drawing sculpture ซึ่งมีหนึ่งศิลปินในระหว่าง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปี 1922 เขาได้ก่อนตั้ง Studio ในเมือง New York เพื่อถ่ายภาพแฟชั่นและ โฆษาให้กับล Vanity Fair และ Vogue ซึ่งจุดเปลี่ยนตรงนี้คือเขาได้ละทิ้งความนุ่ม ความเบลอของภาพที่ยุคนั้นนิยมเป็นอย่างมาก หันมาเน้นความคมชัดแลัพื้นผิว high-key เน้นลายละเอียดของภาพ ซึ่งก่อให้เกิดสไตล์ใหม่ของวงการถ่ายภาพแฟชั่น   เขาได้สร้างผลงานภาพถ่ายให้กับ Condé Nast ร่วมสองพัน original vintage print ภายในภาพนั้นมีภาพดังๆอยู่มากมายจนกลายเป็น Icon ซึ่งซึ่งส่งอิทธิพลให้แกช่างภาพ   




                 ผลงานภาพถ่ายของเขา ในชื่อชุด "gowns" ได้รับการยอมรับเป็นภาพถ่ายแฟชั่นยุคแรกของยุค Modern หลังสงครามโลกครั้งที่1 เขาได้เป็นช่างภาพของ Condé Nast , Vogue และ Vanity Fairและทางานควบคู่ไปกับงานโฆษณามากมาย    ในเดือนกุมภาพันธ์ปี2006 ผลงานเก่าของ Steichen ที่ชื่อว่า The Pond-Moonlight ได้ถูกประมูลไปด้วยราคาสูงที่สุดถึง 2.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นภาพที่เป็นการจัดองค์ประกอบอย่างลงตัวของ สระน้า และเงาแสงจันทร์ต้นไม้ที่สะท้อนลงบนพื้นผิวน้า


jerry uelsmann

   Jerry Uelsmann
Jerry Uelsmann คือเจ้าพ่อแห่ง photomontage หรือการอัดขยายภาพด้วย negative หลายๆรูป

เจรี่เกิดเมือ ๑๑ มิถุนายน ค.ศ. ๑๙๓๔ ที่เมือง Detriot รัฐ Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา เค้าเรียนวิจิตรศิลป์ที่มหาวิทยาลัย Rochester Institute of Technology และต่อปริญญาโทในสาขาเดิมที่มหาวิทยาลัย Indiana พอเรียนจบ อายุได้ ๒๖ ปีก็ไปเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย Florida เมือง Gainesville  [1] ตอนอยู่ที่ Indiana เจรี่ได้ทำงานกับ Henry Holmes Smith ซึ่งเป็นหนึ่งในช่างภาพที่ทดลองอะไรแปลกๆมากมาย เช่น การเอาน้ำเชื่อมมาทาบนกระจกเพื่อให้แสงหักเหและเกิดปรากฏการณ์ใหม่ๆ [7] เจรี่เริ่มมีไอเดียใหม่ๆมากมายและเปลี่ยนวิธีการทำงานในห้องมืดจากการใช้เครื่องอัดขยายเครื่องเดียวในห้องมืดเป็นหลายเครื่อง









งานของเจรี่ได้มีแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑ์ดังๆทั่วโลก เช่น the Metropolitan Museum of Art and the Museum of Modern Art in New York, the Chicago Art Institute, the International Museum of Photography at the George Eastman House, the Victoria and Albert Museum in London, the Bibliotheque National in Paris, the National Museum of American Art in Washington, the Moderna Museet in Stockholm, the National Gallery of Canada, the National Gallery of Australia, the Museum of Fine Arts in Boston, the National Galleries of Scotland, the Center for Creative Photography at theUniversity of Arizona, the Tokyo Metropolitan Museum of Photography, และที่ the National Museum of Modern Art in Kyoto.


Jerry Uelsmann
Journey into Night, 2006


Jerry Uelsmann: Dances with Negatives, Center for 
Photographic Art, Aug 2011.

      ในหนังสือภาพเรื่อง Dances with negatives เท็ด ออแลน เพื่อนของเจรี่และเป็น Curator ในงานแสดงภาพของเจรี่ได้เล่าให้ฟังว่าเขาได้เข้าไปอยู่ในห้องมืดกับเจรี่และได้สัมผัสถึงความพิเศษของเจรี่ที่สามารถผสมผสาน negative จาก ๕๐ ปีที่แล้วกับ negative ที่เพิ่งถ่ายเมื่อสองวันก่อนได้อย่างลงตัว

ที่มา  http://yaiwp.wordpress.com/2013/12/26/jerry-uelsmann/

Time Lapse


Time Lapse  

        Time Lapse เป็นเทคนิคโดยความถี่ที่ เฟรม ภาพยนตร์ ถูกจับ (อัตราเฟรม ) ต่ำกว่าที่ใช้ในการดูลำดับเมื่อเล่นที่ความเร็วปกติ เวลาที่ดูเหมือนว่าจะย้ายได้เร็วขึ้นและทำให้การผ่านพ้นไป ตัวอย่างเช่นภาพของฉาก อาจจะจับทุกวินาทีแล้วกลับมาเล่นที่ 30 เฟรม ต่อวินาที ผลที่ได้คือเห็นได้ชัด   30 × (24 [โรง ] / 25 [ PAL ] / 30 [ NTSC ] เฟรมต่อวินาที ) ครั้งเพิ่มความเร็วถ่ายภาพตามเวลาได้รับการพิจารณา ตรงข้าม ของการถ่ายภาพ ความเร็วสูงหรือ การเคลื่อนไหวช้า



  Time Lapse  นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้นานแค่ไหนชัตเตอร์ของกล้องจะเปิดให้บริการ ระหว่างการถ่ายภาพ ของ แต่ละเฟรมของภาพยนตร์ (หรือวิดีโอ) และยังได้รับนำไปใช้กับการใช้งานของการเปิดยาว ชัตเตอร์ที่ใช้ในการถ่ายภาพยังคงในบางวงการถ่ายภาพเก่าในภาพยนตร์ ทั้งสองชนิดของไทม์สามารถใช้ร่วมกันขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบกล้องที่ใช้ ยิง คืนที่ ดาวย้ายเป็นโลกหมุนต้องใช้ทั้งสองรูปแบบกาสัมผัสที่ยาวนานของแต่ละเฟรมเป็นสิ่งที่จำเป็น ที่จะ ช่วยให้แสงสลัวของดวงดาวที่จะลงทะเบียนบนแผ่นฟิล์มในห้วงเวลาระหว่างเฟรม ให้การเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว เมื่อ หนังเรื่องนี้ ดูได้ที่ความเร็วปกติในขณะที่อัตราเฟรมของไทม์ วิธี อัตราเฟรม ปกติ เหล่านี้ " อ่อน " รูปแบบของไทม์ บางครั้งจะเรียก เพียง การเคลื่อนไหว ที่รวดเร็ว หรือ ( ใน ภาพ) ข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ประเภทของ เส้นเขตแดน ไทม์ นี้คล้ายกับเครื่องเล่นวิดีโอ ในไปข้างหน้า อย่างรวดเร็ว ( "SCAN " ) โหมด ชายคนหนึ่งขี่ จักรยานจะแสดง ขา สูบน้ำ คึก กะพริบ ในขณะที่เขา ผ่าน ถนนในเมือง ที่ความเร็ว ของรถแข่ง อีกต่อไปอัตราแสงสำหรับแต่ละเฟรมยังสามารถผลิตพร่าเลือนในการเคลื่อนไหว ขา ของมนุษย์, ความสูง ภาพลวงตาของความเร็ว

Low Key

ภาพแบบ Low-Key:
     ภาพโลว์คีย์จะตรงกันข้ามกับไฮคีย์ หมายถึงภาพที่มีพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพจะเป็นโซนมืด โดยเฉพาะสีดำ  การถ่ายโลว์คีย์นิยมการเล่นแสงเล่นเงา ถ้าเป็นแนว portrait, นู๊ด ก็จะเป็นแสงที่ส่องมาจากทางทิศด้านข้างซะเป็นส่วนใหญ่




      การถ่ายโลว์คีย์ไม่ใช่การถ่ายติดอันเดอร์  พื้นที่ส่วนที่เป็นส่วนสว่างยังคงได้รับแสงพอดี ในขณะที่พื้นที่ส่วนอื่นๆเป็นโซนมืด
อารมณ์ของภาพโลว์คีย์จะเป็นในแนวลึกลับ น่าค้นหา ถ้าเป็น portrait ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยให้นางแบบยิ้มกัน อารมณ์ของตัวนางแบบอันนี้สำคัญครับ





การเซ็ตค่ากล้อง:
- โหมดของการวัดแสงจะใช้แบบเฉพาะจุดที่ให้ความแม่นยำที่สุด โดยวัดที่จุดสว่างของแบบ
- การชดเชยแสง ภาพแบบ Low-Key จะชดเชยแสงไปทางลบ 1-2 stop
- การถ่ายภาพโลว์คีย์ นอกจากโทนภาพ เสื้อผ้า และฉากหลังแล้ว การปรับค่ากล้องส่วนอื่น คือให้เร่ง Contrast ให้มากที่สุด ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำเพื่อให้ความแตกต่างของสีเด่นชัดขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Documentary Photography

การถ่ายภาพเชิงสารคดี (Documentary Photography)
การถ่ายภาพในเชิงสารคดี  คือ การบันทึกปรากฏการณ์ ข้อเท็จจริงเพื่อบอกเล่าความจริง ตามความเป็นจริง โดยไม่บิดเบือน และไม่ถ่ายภาพนำความคิดหรือความรู้สึกของผู้คน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเมือง ศาสนา และความเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการเล่าเรื่องก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ต้องการจะเล่าด้วย หากเป็นประเด็นละเอียดอ่อน หรือเป็นปรากฏการณ์ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคม ช่างภาพจำเป็นจะต้องถ่ายทอดข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ถ่ายภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยไม่ใช้เทคนิคหรือจัดภาพที่ผิดธรรมชาติ แต่หากเป็นประเด็นที่ชัดเจนแล้ว อย่างเช่น ยาเสพติด เด็กเร่ร่อน อุบัติภัย ฯลฯ ช่างภาพอาจต้องถ่ายทอดให้เห็นอารมณ์ ความรู้สึกในภาพ เพื่อให้คนดูรู้สึกร่วมกับภาพและเรื่องนั้นได้





เทคนิคของการถ่ายภาพในเชิงสารคดีไม่ได้แตกต่างกับการถ่ายภาพทั่วไป แต่การถ่ายภาพสารคดีจำเป็นจะต้องอาศัยการ “ทำการบ้าน” คือการหาข้อมูลและพูดคุยกับนักเขียนและบรรณาธิการให้ชัดเจน ถึงขอบเขตแค่ไหน เมื่อถึงเวลาลงพื้นที่จะได้ทำงานได้ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะงานสารคดีบางเรื่องจำเป็นจะต้องลงพื้นที่ถ่ายภาพหลายครั้ง ตามแต่โอกาสและฤดูการ บางเรื่องอาจต้องลงเป็นทีม หรือใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น สารคดีสัตว์ป่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นต้น

คุณสมบัติของช่างภาพสารคดี
ช่างภาพสารคดีที่ดีควรมีคุณลักษณะที่ ไวต่อความรู้สึก (sensitive) เช่น รู้สึกถึงความพอใจหรือไม่พอใจของซับเจค มีความเมตตา (compassionate) ทรหดอดทนต่อความยากลำบาก (patient) อดทนอดกลั้น (tolerant) ต่อความกดดันต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อยากรู้อยากเห็น แต่ไม่สอดรู้สอดเห็น (nosey) เข้ากับผู้คนทุกประเภทได้ง่าย เด็ดขาดในการตัดสินใจและหนักแน่น (assertive) แต่ไม่ก้าวร้าว

                   ที่มา  http://www.portfolios.net/group/photojournalism/forum/topics/documentary-photography






Panorama


Panorama





           Panorama คือ ภาพถ่ายที่ถ่ายเป็นชุดมาเรียงต่อๆกัน รวมเป็นภาพใหญ่ภาพเดียว
 การถ่ายภาพพาโนรามา ต้องเลือกวัตถุที่เราสนใจจะถ่ายก่อน  แล้วจึงมาจัดองค์ประกอบคร่าวๆ ถ่ายภาพจากซ้าย ไป ขวา ถ่ายภาพเพื่อทั้งข้างซ้ายและข้างขวาพอสมควรเพื่อจะได้สะดวกในการทำภาพ พาโนรามา



    การเตรียมตัวในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ  Panorama

1. ปรับช่วงเลนส์ไปที่ระยะกว้างสุด
2. หาจุดถ่ายที่เป็นแนวยาว มีความเข้มแสงที่ไม่ต่างกันมาก
3. จุดยืนต้องมั่นคง
4. ไม่ควรถ่ายในที่มีการเคลื่อนไหว
5. การถ่ายแต่ละครั้งไม่ควรทิ้งเวลาไปนานๆ เพราะความต่างแสงจะเปลี่ยนไป

Street Photography

Street Photography




    Street Photography คือการสะท้อนภาพของชีวิตจริง ไม่มีการเซ็ตจัดฉาก จากสถานที่จริง ที่ที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันเป็นประจำวัน หรือสัญจรไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นที่สาธารณะ มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าห้างร้าน รถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าสำนักงาน ภาพถ่ายส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่ผู้คนไม่ทันได้สังเกต หรือมองเห็นไม่บ่อยนักในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน



     ช่างภาพจะป็นคนกำหนดและให้ความสำคัญกับฉาก ช่วงเวลาและผู้คน จากประสบการณ์ความรู้สึกภายใต้จิตสำนึกของช่างภาพเอง ซึ้งเป็นการจับอารมณ์และหยุดเวลาบันทึกภาพผ่านซัตเตอร์ภายในเสี้ยววินาที กล้องเป็นเพียงส่วนขยายและหยุดเวลานัยน์ตาของช่างภาพ เพื่อบันทึกเก็บไว้เท่านั้นเอง

การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

       การถ่ายภาพกลางคืน หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงามจะได้ภาพที่แปลกตาการถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน    การถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง คือการถ่ายภาพตอนหลังดวงอาทิตย์ตกจนถึงตอนกลางคืน เช่นถ่ายภาพไฟบนท้องถนน ไฟจากหน้าต่างของโรงแรมใหญ่ ๆ การถ่ายรูปดวงจันทร์วันเพ็ญ หรือการถ่ายภาพดอกไม้ไฟและพลุสีสวยสดใสงานรื่นเริงหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงตอนกลางคืน   



    เทคนิคและการถ่ายภาพตอนกลางคืน การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดูสวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการสั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัดควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับกล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISO ไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย





    ดังนั้นเพื่อที่ให้ภาพของเราเกิดการสั่นไหวน้อยที่สุดและไม่ต้องดัน ISO สูงๆ เพื่อลดการเกิด Noise ในภาพเราควรจะมีอุปกรณ์เสริม เช่น ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ (Remote Control) แฟลช












วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

High Dynamic Range

      HDR (High Dynamic Range) คือ ความสามารถในการสร้างภาพที่มีช่วงการรับแสงสูงกว่าปกติ ที่กล้องดิจิตอลทั่วไปจะสามารถทำได้ เป็นภาพที่มีความสว่างชัดเจนทั่วทั้งภาพ และดูมีมิติ

   

วิธีถ่ายภาพ HDR
1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง  เพราะเราต้องต้องถ่ายภาพเดิมหลายช่วงการรับแสง  และนำภาพมาซ้อนเข้าด้วยกัน  เพื่อให้มั่นใจว่าภาพที่ถ่ายจะอยู่ตำแหน่งเดียวกันทั้งหมด
2. ใช้โหมดถ่ายภาพ M (manual) เพื่อจะให้ระยะภาพชัดเท่ากันทุกๆภาพ
3.ทำการวัดแสงโดยใช้การวัดแสงเฉลี่ยทั้วทุกภาพ (Evaluative metering ) แล้วทำการถ่ายคร่อมค่าแสง เช่น -3,-2,-1,0,1,2,3 เป็นต้นหรืออาจมากกว่านี้ก็ได้ ซึ่งหลักการง่ายๆ ก็คือการถ่ายภาพคร่อมค่าแสง คือ แสงพอดี  แสงอินเตอร์  แสงโอเว่อ
4. ใช้สายลั่นชัตเตอร์  เพราะเราจะต้องทำให้ภาพคมชัดที่สุด  เนื่องจากขณะที่เรากดปุ่มบันทึกภาพด้วยนิ้วมือ  จำเป็นต้องออกแรงกดกล้อง  อาจเกิดการสั่นสะเทือนได้  ดังนั้น เพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด  เราจำเป็นต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์  หรือรีโมทควบคุมไว้
5. ล็อคกระจกสะท้อนภาพ  เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการดีดตัวของกระจกสะท้อนภาพ  จะส่งผลให้ภาพขาดความคมชัดได้  ซึ่งหากช่วงเวลารับแสงนานๆยิ่งต้องเปิดใช้ (ถ้ามีโหมดยกกระจก)

6. ตั้งค่าไวท์บาลานซ์  กำหนดค่าไวท์บาลานซ์ เพื่อให้ได้โทนสีภาพตามที่ต้องการ  เพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนของโทนสีในแต่ละภาพหรือวิธีที่ดีที่สุดก็ควรตั้งค่าคุณภาพการบันทึกภาพ  หากกล้องสามารถตั้งไฟล์ภาพแบบ Row fileได้ ก็ควรตั้งแบบ Row File เพื่อสามารถนำภาพมาปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ในภายหลัง





-1 STOP


Normal


+1 STOP
       

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

White Balance






     white Balance หรือสมดุลแสงสีขาว เป็นระบบที่มีกับกล้อง DSLR ที่เราสามารถปรับได้เพราะแสงในธรรมชาติ เช่นในเวลากลางวัน ก็คือดวงอาทิตย์ หรือแสงที่เกิดจากมนุษย์ เช่นหลอดไฟประเภทต่างๆ ก็จะมีสีสันที่แตกต่างกัน และเวลาที่เราถ่ายภาพออกมานั้นอาจจะผิดเพี้ยนไปจากความจริง หรือตรงกับตาของมนุษย์ เพื่อเป็นการชดเชยแสงให้ตรงกับตาของเราจึงมีการ ปรับสมดุลแสงสีขาว white Balance แต่หากเราปรับระบบ white Balance ใว้ที่ระบบอัตโนมัติกล้องก็จะปรับให้เราอยู่แล้วแต่ในบางกรณีกล้องอาจจะปรับไม่ตรงกับสายตาของเรา





ระบบ White Balance มีดังนี้

Auto กล้องจะทการปรับหรือแก้สีให้เราโดยอัตโนมัติเพื่อให้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด
Tungsten สีของ Tungsten นั้นก็จะออกสีส้มผมจะเปรียบเทียบกับวัตถุที่มีสีขาวนะครับ เมื่อปรับเป็นแบบ Tungsten ก็จะแก้สีเป็นสีน้ำเงิน
Fluorestcent สีของ Fluorestcent นั้นจะออกสีน้ำเงินถึงสีเขียว เมื่อปรับเป็นแบบ Fluorestcent ก็จะแก้สีเป็นสีม่วงๆ
Daylinght สีของ Daylinght หรือสีของพระอาทิตย์ตอนกลางวัน จะออกสีฟ้าอ่อนๆ เมื่อปรับเป็นแบบ Daylinght ก็จะแก้สีเป็นสีส้มเล็กน้อย
Flash สีของ Flash นั้นจะเป็นสีคล้ายๆกับแสงของพระอาทิตย์ตอนกลางวัน เมื่อเราปรับเป็นแบบ Flash ก็จะแก้สีเป็นสีส้มอ่อนๆถึงเหลืองเล็กน้อย
Cloudy สีของ Cloudy จะเป็นแสงของวันที่มีเมฆ หรือรวมไปทั้งหมอกและควันด้วย ทำให้แสงนั้นออกสีฟ้ามากกว่าปกติ เมื่อเราปรับเป็นแบบ Cloudy ก็จะแก้สีเป็นสีส้ม 
Shade สีของ Shade คือแสงสีของการถ่ายภาพใต้ร่มเงาทำให้ภาพนั้นติดสีน้ำเงินมาก หากเราปรับเป็นแบบ Shade ก็จะแก้สีเป็นสีส้มซึ่งจะค่อนข้างเข้ม

หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น


หลักการถ่ายภาพเบื้องต้น








    การถ่ายภาพเบื้องต้น สำหรับท่านที่ไม่เคยถ่ายแบบจริงจังมาก่อน อันดับแลกมารู้จักกับ จุดตัด 9 ช่อง และกฏ 3 ส่วนก่อน ภาพข้างบนจะเป็นกฏ 3 ส่วน ส่วนภาพข้างล่างจะเป็นจุดตัด 9 ช่อง

    กฏ 3 ส่วน จะสังเกตุง่ายๆ ก็คือ ถ้าเราแบ่งรูปเป็น 3 ส่วน คือ พื้นดินกับท้องฟ้า เราจะต้องแบ่งเป็น 1:2 ส่วน ถ้าเราเห็นท้องฟ้าสวยน่าสนใจ แต่น้ำหรือพื้นดินไม่สวยไม่น่าสนใจ เราก็จะถ่ายส่วนที่เด่นเป็น 2 ส่วนในภาพ ส่วนที่ไม่เด่นเป็น 1 ส่วน 






     จุดตัด 9 ช่อง คือ เราแบ่งรูปเป็น 9 ช่องเท่าๆกัน และเราก็จะเห็นว่ามีเส้นที่ตัดกันอยู่ 4 จุด นั่นคือที่ที่เราจะนำจุดที่เราสนใจจะถ่ายมาวางที่จุดใดจุดหนึ่งในภาพ มันจะทำให้เวลาดูภาพตาเรา ก็จะมองไปที่จุดที่เราวางไว้

      ถ้าเวลาเราออกไปถ่ายภาพ แล้วนึกไม่ออกว่าจะถ่ายยังไงดี มุมไหนดี ก็อย่าลืมกฏ 2 ข้อนี้นะครับ เพราะคนส่วนใหญ่นิยมใช้กันครับ