วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Documentary Photography

การถ่ายภาพเชิงสารคดี (Documentary Photography)
การถ่ายภาพในเชิงสารคดี  คือ การบันทึกปรากฏการณ์ ข้อเท็จจริงเพื่อบอกเล่าความจริง ตามความเป็นจริง โดยไม่บิดเบือน และไม่ถ่ายภาพนำความคิดหรือความรู้สึกของผู้คน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเมือง ศาสนา และความเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการเล่าเรื่องก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ต้องการจะเล่าด้วย หากเป็นประเด็นละเอียดอ่อน หรือเป็นปรากฏการณ์ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคม ช่างภาพจำเป็นจะต้องถ่ายทอดข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ถ่ายภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยไม่ใช้เทคนิคหรือจัดภาพที่ผิดธรรมชาติ แต่หากเป็นประเด็นที่ชัดเจนแล้ว อย่างเช่น ยาเสพติด เด็กเร่ร่อน อุบัติภัย ฯลฯ ช่างภาพอาจต้องถ่ายทอดให้เห็นอารมณ์ ความรู้สึกในภาพ เพื่อให้คนดูรู้สึกร่วมกับภาพและเรื่องนั้นได้





เทคนิคของการถ่ายภาพในเชิงสารคดีไม่ได้แตกต่างกับการถ่ายภาพทั่วไป แต่การถ่ายภาพสารคดีจำเป็นจะต้องอาศัยการ “ทำการบ้าน” คือการหาข้อมูลและพูดคุยกับนักเขียนและบรรณาธิการให้ชัดเจน ถึงขอบเขตแค่ไหน เมื่อถึงเวลาลงพื้นที่จะได้ทำงานได้ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะงานสารคดีบางเรื่องจำเป็นจะต้องลงพื้นที่ถ่ายภาพหลายครั้ง ตามแต่โอกาสและฤดูการ บางเรื่องอาจต้องลงเป็นทีม หรือใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น สารคดีสัตว์ป่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นต้น

คุณสมบัติของช่างภาพสารคดี
ช่างภาพสารคดีที่ดีควรมีคุณลักษณะที่ ไวต่อความรู้สึก (sensitive) เช่น รู้สึกถึงความพอใจหรือไม่พอใจของซับเจค มีความเมตตา (compassionate) ทรหดอดทนต่อความยากลำบาก (patient) อดทนอดกลั้น (tolerant) ต่อความกดดันต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อยากรู้อยากเห็น แต่ไม่สอดรู้สอดเห็น (nosey) เข้ากับผู้คนทุกประเภทได้ง่าย เด็ดขาดในการตัดสินใจและหนักแน่น (assertive) แต่ไม่ก้าวร้าว

                   ที่มา  http://www.portfolios.net/group/photojournalism/forum/topics/documentary-photography






Panorama


Panorama





           Panorama คือ ภาพถ่ายที่ถ่ายเป็นชุดมาเรียงต่อๆกัน รวมเป็นภาพใหญ่ภาพเดียว
 การถ่ายภาพพาโนรามา ต้องเลือกวัตถุที่เราสนใจจะถ่ายก่อน  แล้วจึงมาจัดองค์ประกอบคร่าวๆ ถ่ายภาพจากซ้าย ไป ขวา ถ่ายภาพเพื่อทั้งข้างซ้ายและข้างขวาพอสมควรเพื่อจะได้สะดวกในการทำภาพ พาโนรามา



    การเตรียมตัวในการถ่ายภาพ การถ่ายภาพ  Panorama

1. ปรับช่วงเลนส์ไปที่ระยะกว้างสุด
2. หาจุดถ่ายที่เป็นแนวยาว มีความเข้มแสงที่ไม่ต่างกันมาก
3. จุดยืนต้องมั่นคง
4. ไม่ควรถ่ายในที่มีการเคลื่อนไหว
5. การถ่ายแต่ละครั้งไม่ควรทิ้งเวลาไปนานๆ เพราะความต่างแสงจะเปลี่ยนไป

Street Photography

Street Photography




    Street Photography คือการสะท้อนภาพของชีวิตจริง ไม่มีการเซ็ตจัดฉาก จากสถานที่จริง ที่ที่ทุกคนใช้ชีวิตร่วมกันเป็นประจำวัน หรือสัญจรไปมา ส่วนใหญ่จะเป็นที่สาธารณะ มีผู้คนอาศัยเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นหน้าห้างร้าน รถไฟฟ้าใต้ดิน หน้าสำนักงาน ภาพถ่ายส่วนใหญ่มักจะเป็นภาพที่ผู้คนไม่ทันได้สังเกต หรือมองเห็นไม่บ่อยนักในชีวิตประจำวัน รวมไปจนถึงรายละเอียดปลีกย่อยของผู้คนที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน



     ช่างภาพจะป็นคนกำหนดและให้ความสำคัญกับฉาก ช่วงเวลาและผู้คน จากประสบการณ์ความรู้สึกภายใต้จิตสำนึกของช่างภาพเอง ซึ้งเป็นการจับอารมณ์และหยุดเวลาบันทึกภาพผ่านซัตเตอร์ภายในเสี้ยววินาที กล้องเป็นเพียงส่วนขยายและหยุดเวลานัยน์ตาของช่างภาพ เพื่อบันทึกเก็บไว้เท่านั้นเอง

การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

       การถ่ายภาพกลางคืน หรือการถ่ายภาพไฟกลางคืนที่สวยงามจะได้ภาพที่แปลกตาการถ่ายภาพเวลากลางคืน ได้แก่ การถ่ายภาพที่อาศัยแสงสว่างจากไฟฟ้าตามท้องถนน ป้ายนีออนโฆษณา น้ำพุ การยิงพลุ ห้องโชว์สินค้า ไฟประดับในวันเฉลิมฉลองต่าง ๆ แสงไฟจากรถยนต์ แสงเทียน สายฟ้าแลบ ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้า ความสวยงามต่าง ๆ ที่เราสามารถมองเห็นได้ในเวลาค่ำคืนดังกล่าว เราสามารถบันทึกภาพที่งดงามเหล่านั้นด้วยกล้องถ่ายภาพได้เช่นเดียวกับการถ่ายภาพในเวลากลางวัน    การถ่ายภาพที่น่าสนใจอีกแบบหนึ่ง คือการถ่ายภาพตอนหลังดวงอาทิตย์ตกจนถึงตอนกลางคืน เช่นถ่ายภาพไฟบนท้องถนน ไฟจากหน้าต่างของโรงแรมใหญ่ ๆ การถ่ายรูปดวงจันทร์วันเพ็ญ หรือการถ่ายภาพดอกไม้ไฟและพลุสีสวยสดใสงานรื่นเริงหรืองานเฉลิมฉลองต่าง ๆ ตลอดจนการแสดงตอนกลางคืน   



    เทคนิคและการถ่ายภาพตอนกลางคืน การถ่ายภาพกลางคืนไม่ใช่เรื่องที่ยากจนเกินไป โดยเฉพาะแสงสีในเมืองนั้น สามารถถ่ายภาพให้ดูสวยงามได้ง่ายๆ เพียงแต่มีกล้องที่ปรับความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้ และหาวิธีป้องกันภาพสั่นไหวจากความเร็ว ชัตเตอร์ต่ำ หากถือกล้องด้วยมือ ภาพที่ได้จะเบลอไม่คมชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้ขาตั้งกล้อง ซึ่งจะช่วยลดการสั่นไหวได้เป็นอย่างดี หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำมากๆ เช่น 1 วินาที หรือต่ำกว่านั้น ไม่ควรใช้นิ้วกดปุ่ม ชัตเตอร์โดยตรง เพราะเพียงกดชัตเตอร์เบาๆ ก็อาจเกิดการสั่นไหวจนส่งผลให้ภาพที่ได้ขาดความคมชัดควรใช้สายลั่นชัตเตอร์ แต่ถ้าไม่มีก็ใช้ระบบถ่ายภาพหน่วงเวลาก็ได้ กล้องบางรุ่นเลือกหน่วงเวลาช่วงสั้นๆ เช่น 2 หรือ 3 วินาที ทำให้ถ่ายภาพได้โดยไม่ต้องรอคอยนานเกินไป สำหรับกล้องดิจิตอลเมื่อมีสิ่งรองรับกล้องที่มั่นคง ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ความไวแสงสูงๆ ควรปรับ ISO ไปที่ต่ำสุด เพื่อให้ภาพที่ได้มี Noise น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย





    ดังนั้นเพื่อที่ให้ภาพของเราเกิดการสั่นไหวน้อยที่สุดและไม่ต้องดัน ISO สูงๆ เพื่อลดการเกิด Noise ในภาพเราควรจะมีอุปกรณ์เสริม เช่น ขาตั้งกล้อง สายลั่นชัตเตอร์ (Remote Control) แฟลช












วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

High Dynamic Range

      HDR (High Dynamic Range) คือ ความสามารถในการสร้างภาพที่มีช่วงการรับแสงสูงกว่าปกติ ที่กล้องดิจิตอลทั่วไปจะสามารถทำได้ เป็นภาพที่มีความสว่างชัดเจนทั่วทั้งภาพ และดูมีมิติ

   

วิธีถ่ายภาพ HDR
1. ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องที่มั่นคง  เพราะเราต้องต้องถ่ายภาพเดิมหลายช่วงการรับแสง  และนำภาพมาซ้อนเข้าด้วยกัน  เพื่อให้มั่นใจว่าภาพที่ถ่ายจะอยู่ตำแหน่งเดียวกันทั้งหมด
2. ใช้โหมดถ่ายภาพ M (manual) เพื่อจะให้ระยะภาพชัดเท่ากันทุกๆภาพ
3.ทำการวัดแสงโดยใช้การวัดแสงเฉลี่ยทั้วทุกภาพ (Evaluative metering ) แล้วทำการถ่ายคร่อมค่าแสง เช่น -3,-2,-1,0,1,2,3 เป็นต้นหรืออาจมากกว่านี้ก็ได้ ซึ่งหลักการง่ายๆ ก็คือการถ่ายภาพคร่อมค่าแสง คือ แสงพอดี  แสงอินเตอร์  แสงโอเว่อ
4. ใช้สายลั่นชัตเตอร์  เพราะเราจะต้องทำให้ภาพคมชัดที่สุด  เนื่องจากขณะที่เรากดปุ่มบันทึกภาพด้วยนิ้วมือ  จำเป็นต้องออกแรงกดกล้อง  อาจเกิดการสั่นสะเทือนได้  ดังนั้น เพื่อให้กล้องนิ่งที่สุด  เราจำเป็นต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์  หรือรีโมทควบคุมไว้
5. ล็อคกระจกสะท้อนภาพ  เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนที่เกิดจากการดีดตัวของกระจกสะท้อนภาพ  จะส่งผลให้ภาพขาดความคมชัดได้  ซึ่งหากช่วงเวลารับแสงนานๆยิ่งต้องเปิดใช้ (ถ้ามีโหมดยกกระจก)

6. ตั้งค่าไวท์บาลานซ์  กำหนดค่าไวท์บาลานซ์ เพื่อให้ได้โทนสีภาพตามที่ต้องการ  เพื่อป้องกันความผิดเพี้ยนของโทนสีในแต่ละภาพหรือวิธีที่ดีที่สุดก็ควรตั้งค่าคุณภาพการบันทึกภาพ  หากกล้องสามารถตั้งไฟล์ภาพแบบ Row fileได้ ก็ควรตั้งแบบ Row File เพื่อสามารถนำภาพมาปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ในภายหลัง





-1 STOP


Normal


+1 STOP