วันพฤหัสบดีที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

Documentary Photography

การถ่ายภาพเชิงสารคดี (Documentary Photography)
การถ่ายภาพในเชิงสารคดี  คือ การบันทึกปรากฏการณ์ ข้อเท็จจริงเพื่อบอกเล่าความจริง ตามความเป็นจริง โดยไม่บิดเบือน และไม่ถ่ายภาพนำความคิดหรือความรู้สึกของผู้คน โดยเฉพาะประเด็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน เช่น เรื่องเกี่ยวกับการเมือง ศาสนา และความเชื่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น วิธีการเล่าเรื่องก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ต้องการจะเล่าด้วย หากเป็นประเด็นละเอียดอ่อน หรือเป็นปรากฏการณ์ที่ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ในสังคม ช่างภาพจำเป็นจะต้องถ่ายทอดข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา ถ่ายภาพให้ครอบคลุมทุกด้าน โดยไม่ใช้เทคนิคหรือจัดภาพที่ผิดธรรมชาติ แต่หากเป็นประเด็นที่ชัดเจนแล้ว อย่างเช่น ยาเสพติด เด็กเร่ร่อน อุบัติภัย ฯลฯ ช่างภาพอาจต้องถ่ายทอดให้เห็นอารมณ์ ความรู้สึกในภาพ เพื่อให้คนดูรู้สึกร่วมกับภาพและเรื่องนั้นได้





เทคนิคของการถ่ายภาพในเชิงสารคดีไม่ได้แตกต่างกับการถ่ายภาพทั่วไป แต่การถ่ายภาพสารคดีจำเป็นจะต้องอาศัยการ “ทำการบ้าน” คือการหาข้อมูลและพูดคุยกับนักเขียนและบรรณาธิการให้ชัดเจน ถึงขอบเขตแค่ไหน เมื่อถึงเวลาลงพื้นที่จะได้ทำงานได้ตรงตามเป้าหมายและมีประสิทธิภาพที่สุด เพราะงานสารคดีบางเรื่องจำเป็นจะต้องลงพื้นที่ถ่ายภาพหลายครั้ง ตามแต่โอกาสและฤดูการ บางเรื่องอาจต้องลงเป็นทีม หรือใช้อุปกรณ์พิเศษ เช่น สารคดีสัตว์ป่า ปรากฏการณ์ธรรมชาติ เป็นต้น

คุณสมบัติของช่างภาพสารคดี
ช่างภาพสารคดีที่ดีควรมีคุณลักษณะที่ ไวต่อความรู้สึก (sensitive) เช่น รู้สึกถึงความพอใจหรือไม่พอใจของซับเจค มีความเมตตา (compassionate) ทรหดอดทนต่อความยากลำบาก (patient) อดทนอดกลั้น (tolerant) ต่อความกดดันต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ อยากรู้อยากเห็น แต่ไม่สอดรู้สอดเห็น (nosey) เข้ากับผู้คนทุกประเภทได้ง่าย เด็ดขาดในการตัดสินใจและหนักแน่น (assertive) แต่ไม่ก้าวร้าว

                   ที่มา  http://www.portfolios.net/group/photojournalism/forum/topics/documentary-photography






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น